วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะคำประพันธ์


โคลงสี่สุภาพ

       
         
โคลง เป็นคำประพันธ์ที่บังคับวรรณยุกต์ คือ เอก โท และบังคับสัมผัส มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นคำประพันธ์พื้นเมืองไทยทางเหนือและอีสานก่อนจะแพร่หลายมายังภาคกลาง
                                                     
           
          หนึ่งบทมี 30 คำ แบ่งเป็น 4 บาท 3 บาทแรก บาทละ 7 คำ บาทที่สี่ 9 คำ แต่ละบาทแบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ เว้นบาทสุดท้าย 4 คำ มีสร้อยได้ 2 แห่ง โคลงบังคับเอก 7 โท 4 ตามตำแหน่ง สัมผัสคำที่ 7 บาทแรกกับคำที่ 5 ของบาทที่สองและบาทที่สาม กับสัมผัสคำที่ 7 บาทที่สองกับคำที่ 5 บาทที่สี่ เอกโทในบาทแรกอาจสลับที่กันได้ และอนุโลมให้ใช้คำตายแทนเอกได้ ดังตัวอย่าง
                                         เสียงลือเสียงเล่าอ้าง             อันใด     พี่เอย
                                  เสียงย่อมยอยศใคร                       ทั่วหล้า
                                  สองเขือพี่หลับใหล                       ลืมตื่น     ฤาพี่
                                  สองพี่คิดเองอ้า                             อย่าได้ถาม





                                                                  อินทรวิเชียรฉันท์

อินทรวิเชียรฉันท์เป็นลักษณ์หนึ่งของร้อยกรองในภาษาไทย ที่บังคับเสียงหนัก - เบาของพยางค์ ที่เรียกว่า ครุ - ลหุ ฉันท์ในภาษาไทยรับแบบมาจากประเทศอินเดีย ตำราฉันท์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียเป็นภาษาสันสกฤต คือ ปิงคลฉันทศาสตร์ แต่งโดยปิงคลาจารย์ ส่วนตำราฉันท์ภาษาบาลีเล่มสำคัญที่สุดได้แก่ คัมภีร์วุตโตทัยปกรณ์ ผู้แต่งคือ พระสังฆรักขิตมหาสามี




ตัวอย่างคำประพันธ์
                                                       บงเนื้อก็เนื้อเต้น             พิศะเส้นก็สั่นรัว
                                               ทั่วร่างและทั้งตัว                   ก็ระริกระริวไป
                                               แลหลังก็หลั่งโล                   -หิตโอ้เลอะลามใหล
                                               เพ่งผาดอนาถใจ                   ตละล้วนระรอยหวาย




                                                                                กาพย์
             กาพย์ เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่บังคับจำนวนคำและสัมผัส จัดวรรคต่างจากกลอนและไม่บังคับเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค ไม่มีบังคับเอก-โทเหมือนโคลง และไม่มีบังคับครุและลหุเหมือนฉันท์


   
                                                       วิชาเหมือนสินค้า

 อันมีค่าอยู่เมืองไกล
                                        ต้องยากลำบากไป
     
จึงจะได้สินค้ามา
                                        จงตั้งเอากายเจ้า

เป็นสำเภาอันโสภา
                                        ความเพียรเป็นโยธา

แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ
                                        นิ้วเป็นสายระยาง

สองเท้าต่างสมอใหญ่
                                        ปากเป็นนายงานไป

อัชฌาสัยเป็นเสบียง
                                         สติเป็นหางเสือ

ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง
                                         ถือไว้อย่าให้เอียง

ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา
                                      
กลอนสุภาพ(กลอนแปด)
กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
                                   

                  ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก                              ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล
                 สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย                          แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา                    

                 เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น                แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา
                 แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์    โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง




                           

 ร่าย
       ร่าย คือ คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งที่แต่งง่ายที่สุด และมีฉันทลักษณ์น้อยกว่าร้อยกรองประเภทอื่น ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าร่ายมีลักษณะใกล้เคียงกับคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วมาก เพียงแต่กำหนดที่คล้องจองและบังคับวรรณยุกต์ในบางแห่ง ร่ายเป็นร้อยกรองแบบหนึ่ง มีสี่ประเภทได้แก่ ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น และร่ายโบราณ




       





                ตัวอย่าง
      ศรีสวัสดิเดชะ   ชนะราชอรินทร์  ยินพระยศเกริกเกรียง   เพียงพกแผ่นฟากฟ้า
หล้าหล่มเลื่องชัยเชวง     เกรงพระเกียรติระย่อ  ฝ่อใจห้าวบ่มิหาญ   ลาญใจแกล้วบมิกล้า                 เถลิงพระเกียรติฟุ้งฟ้า   ลือตรลบแหล่งหล้า   โลกล้วนสดุดี
 ( ลิลิตตะเลงพ่าย  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส )